ประวัติความเป็นมาชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ 2 ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.2457) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้ว ให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว สำหรับในประเทศไทยนั้นมีการจัดงานวันแม่ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2486 ณ.สวนอัมพร โดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้จัดงาน แต่เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไปโดยปริยาย หลังจากผ่านพ้นวิกฤติสงครามไปแล้ว หลายหน่วยงานได้พยายามรื้อฟื้นให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง แต่กำหนดวันแม่ที่ประชาชนนิยม และเป็นที่รับรองของรัฐบาล คือวันที่ 15 เมษายน โดยเริ่มจัดมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 กำหนดงานวันแม่ในวันนี้ยังดำเนินต่อมาอีกหลายปี ก็ต้องมาหยุดชะงักลงอีก ด้วยเหตุผลที่ว่าสภาวัฒนธรรมแห่งชาติผู้จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน ซึ่งก็คือกระทรวงวัฒนธรรมที่ถูกยุบไปนั่นเอง
ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย เห็นว่าควรมีการจัดงานวันแม่ต่อไป จึงได้รื้อฟื้นงานวันแม่ขึ้นมาอีก และได้กำหนดให้จัดงานวันแม่ คือวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ.2515 แต่จัดได้เพียงปีเดียวก็เลิกไป จนกระทั่งในปี พ.ศ.2519 คณะกรรมการอำนวยการ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์เห็นว่า ควรกำหนดวันแม่ให้แน่นอนเสียที จึงได้กำหนดวันแม่ใหม ่โดยให้ถือว่าวันเสด็จพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ วันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันแม่แห่งชาติ และ กำหนดให้ดอกมะลิเป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ตั้งแต่นั้นมาเหตุผลที่ให้ดอกมะลิ เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ ก็เนื่องจาก ดอกมะลิเป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรัก อันบริสุทธิ์ของแม่ ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย...
นักภาษาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า คำว่า "แม่" ของทุก ๆ ภาษา มาจากการออกเสียงของเด็ก โดยคำขึ้นต้นด้วยพยัญชนะริมฝีปากคู่ (Bilabial) ได้แก่ ม , พ , ป ,บ หรืออาจกล่าวได้ว่าเป็นพยัญชนะชุดแรก ที่เด็กสามารถทำเสียงได้ โดยการใช้ริมฝีปากบนและล่าง ดังเช่นภาษาไทย แม่
ภาษาจีน ม๊ะ หรือ ม่า
ภาษาฝรั่งเศส la mere (ลา แมร์)
ภาษาอังกฤษ mom , mam
ภาษาโซ่ ม๋เปะ
ภาษามุสลิม มะ
ภาษาไทใต้คง เม
เป็นต้น
กลอนวันแม่
สตรีใด…….ไหนเล่า………..เท่าเธอนี้เป็นผู้ที่ …………..ลูกทุกคน………บ่นรู้จักเป็นผู้ที่ ……………มีพระคุณ………การุณนักเป็นผู้ที่ …………..สร้างความรัก…..สอนความดีเป็นผู้ที่……………คอยสั่งสอน…….เอาใจใส่คอยห่วงใย….……เราทุกคน………จนวันนี้เปรียบแสงทอง……สว่างล้ำ……….นำชีวีเธอคนนี้…………..คือ ” แม่ ”……..ของเราเอง
……...วันเกิดเราเป็นดั่งวันสิ้นลมแม่ ....เจ็บปวดแท้ดั่งน้ำตาพาจะไหล ....สองมือออบโอบอุ้มแกว่งเปล ....น้ำนมเลี้ยงอุ้มชูให้เติบใหญ่มา …แม่เปรียบดั่งยารักษายามป่วยไข้ ....แม่เปรียบดั่งต้นไม้ใหญ่ร่มใบหนา ....แม่เปรียบดั่งดวงตะวันส่องแสงมา …แม่เปรียบดั่งผ้าห่มหนาอบอุ่นกาย …เปรียบดั่งพระในบ้านชี้แนะลูก ....สถิตย์ถูกอยู่กลางใจไม่ไปไหน ....กตัญญูตอนนี้ยังไม่สายไป ....ก่อนแม่ไซร้หลับตาไปไม่ลืมเอย
มือน้อยน้อยแม่คอยอุ้มชู......... แม่เฝ้ามองดูไม่ห่างไปไหน แม่เฝ้าปลอบขวัญยามลูกหลับไหล ........ ไม่ยอมห่างไกลไปจากสายตา มือน้อยน้อยของแม่ล้ำค่า ........... อุ้มชูลูกมาจากเล็กเด็กแดง ยามลูกเติบใหญ่ด้วยน้ำพักน้ำแรง ด้วยใจที่แกร่งของแม่ถักทอหากกล่าวถึง คำนี้ คำว่าแม่ บังเกิดแก่ สายตาชน คนทั้งผอง ก็นิ่งคิด นิ่งเงียบ นิ่งยืนมอง ไม่มีสอง นึกถึงคุณ พระคุณมารดา
กลั่นเม็ดเลือดเม็ดน้อยนับร้อยหยด จนปรากฎเป็นหยดนมรสกลมกล่อมเพื่อหล่อเลี้ยงทารกน้อยค่อยอดออม เฝ้าถนอมฟูมฟักรักเมตตาวันเปลี่ยนวันเดือนเปลี่ยนเดือนหมุนเคลื่อนคล้อยจากเด็กน้อยเริ่มมีแรงเริ่มแข็งกล้าค่อยสอนเดินสอนทำสอนคำจาสอนปัญญาสอนวิชาสารพันทารกน้อยวันนี้เห็นเป็นผู้ใหญ่แม่ภูมิใจในผลงานการสร้างสรรค์ความเหน็ดเหนื่อยกายใจหายไปพลันเมื่อถึงวันลูกได้รับปริญญาวันนี้ลูกของแม่สุขถ้วนทั่วมีครอบครัวอยู่เย็นเป็นฝั่งฝาแม่คนนี้ย่างเข้าสู่วัยชรารอเวลาสู่กองฟอนตอนสิ้นใจวันเอยวันแม่สองตาแลหม่นหมองอยากร้องไห้บ้านแม่อยู่วันนี้ไม่มีใครมีแต่ไก่กับหมาที่สีมอซออยากฝากดาวถามฟ้าหาลูกรักใครรู้จักบอกให้ได้ไหมหนอแม่ชราผู้อยู่หลังยังเฝ้ารอบอกอยากขอเห็นหน้าอีกคราเอย
เพลงกล่อมเด็กเป็นเพลงที่มีเนื้อความสั้น ๆ ร้องง่าย ชาวบ้านในอดีตมักร้องกันได้ เนื่องจากได้ยินได้ฟังมาตั้งแต่เกิด คือได้ฟังพ่อแม่ร้องกล่อมตนเอง น้อง หลาน ฯลฯ เมื่อมีลูกก็มักร้องกล่อมลูก จึงเป็นเพลงที่ร้องกันได้เป็นส่วนมาก เราจึงพบว่าเพลงกล่อมเด็กมีอยู่ทุกภูมิภาคของไทย และเป็นวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงดูเด็กในสังคมไทย ซึ่งหากศึกษาจะพบว่า
1.เพลงกล่อมเด็กมีหน้าที่กล่อมให้เด็กหลับโดยตรง ดังนั้นจึงเป็นเพลงที่มีทำนองฟังสบาย แสดงความรักใคร่ห่วงใยของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็ก2.เพลงกล่อมเด็กมีหน้าที่แอบแฝงหลายประการ อาทิ-การสอนภาษา เพื่อให้เด็กออกเสียงต่าง ๆ ได้โดยการหัดเลียนเสียง และออกเสียงต่าง ๆ ได้เร็วขึ้น
-ถ่ายทอดความรู้ต่าง ๆ ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติ การดำเนินชีวิต การทำมาหากินของสังคมตนเอง การสร้างค่านิยมต่าง ๆ รวมทั้งการระบายอารมณ์และความในใจของผู้ร้อง
นอกจากนี้พบว่า ส่วนมากแล้วเพลงกล่อมเด็ก มักมีใจความแสดงถึงความรักใคร่ห่วงใยลูก ซึ่งความรักและความห่วงใยนี้ แสดงออกมาในรูปของการทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเก็บเด็กไว้ใกล้ตัว
บทเพลงกล่อมเด็กจึงเป็นบทเพลงที่แสดงอารมณ์ ความรักความผูกพันระหว่างแม่-ลูก ซึ่งแต่ละบทมักแสดงถึงความรักความอาทร ทะนุถนอม ที่แม่มีต่อลูกอย่างซาบ
นกเขาขัน
นกเขาเอย ขันแต่เช้าไปจนเย็น ขันไปให้ดังแม่จะฟังเสียงเล่น เนื้อเย็นเจ้าคนเดียวเอย
กาเหว่า
กาเหว่าเอย ไข่ให้แม่กาฟัก แม่กาหลงรัก คิดว่าลูกในอุทร
คาบข้าวมาเผื่อ คาบเหยื่อมาป้อน ปีกหางเจ้ายังอ่อน สอนร่อนสอนบิน
แม่กาพาไปกิน ที่ปากน้ำแม่คงคา ตีนเหยียบสาหร่าย ปากก็ไซ้หาปลา
กินกุ้งกินกั้ง กินหอยกระพังแมงดา กินแล้วบินมา จับต้นหว้าโพธิทอง
นายพรานเห็นเข้า เยี่ยมเยี่ยมมองมอง ยกปืนขึ้นส่อง หมายจ้องแม่กาดำ
ตัวหนึ่งว่าจะต้ม ตัวหนึ่งว่าจะยำ แม่กาตาดำ แสนระกำใจเอย
วัดโบสถ์
วัดเอ๋ยวัดโบสถ์ มีต้นข้าวโพดสาลี
ลูกเขยตกยาก แม่ยายก็พรากเอาตัวหนี
ข้าวโพดสาลี ต่อแต่นี้จะโรยรา
นอนไปเถิด
นอนไปเถิดแม่จะกล่อม นวลละม่อมแม่จะไกว
ทองคำแม่อย่าร่ำไห้ สายสุดใจเจ้าแม่เอย
เจ้าเนื้อละมุน
เจ้าเนื้อละมุนเอย เจ้าเนื้ออุ่นเหมือนสำลี
แม่มิให้ผู้ใดต้อง เนื้อเจ้าจะหมองศรี
ทองดีเจ้าคนเดียวเอย
เจ้าเนื้ออ่อน
เจ้าเนื้ออ่อนเอย อ้อนแม่จะกินนม
แม่จะอุ้มเจ้าออกชม กินนมแล้วนอนเปลเอย