ถึงเวลาถือศีลกินเจอีกวาระหนึ่งแล้ว เราจะเห็นร้านอาหารปักธงสีเหลืองเป็นแถว ๆ ร้านที่เคยขายอาหารธรรมดาที่มี เนื้อสัตว์จะกลายสภาพเป็นร้านอาหารเจ นับเป็นโอกาสที่หลายๆ ท่านจะได้ทำความดีโดยละเว้น จากการทานอาหาร จากเนื้อสัตว ์ในช่วงเวลานี้ ไม่ว่าจะทานเจกันด้วยเหตุผลในเรื่องของสุขภาพ ศาสนา หรือเพื่อความสุขทางใจก็ตาม ซึ่งแม้ เทศกาลอาหารเจจะมีเเค่ 9 วัน แต่ก็สามารถทำให้ผู้ปฏิบัติรู้สึกอิ่มใจ เพราะได้ละเว้นจากการทำบาป ดังนั้น อาหารเจ อาจถือได้ว่าเป็นทั้งอาหารกายและอาหารใจ
เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการอาหารเจกันสักหน่อย เพื่อที่เราจะได้เลือกทานอาหารเจให้เป็น อย่าลืมว่า แม้อาหาร เจจะเป็นอาหารสุขภาพ แต่ถ้าเราบริโภคไม่ได้สัดส่วน ไม่ถูกหลักโภชนาการ โอกาสที่ปัญหาสุขภาพจะรุมเร้า ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่ตัดสินใจกินเจระยะยาว
หลักการของอาหารเจ คือ
• อาหารกลุ่มข้าว - แป้ง เผือกมัน อาหารกลุ่มนี้รวมถึงพวกเส้น ๆทั้งหลาย เช่น หมี่ซั่วผัด อาหารกลุ่มนี้ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรตซึ่งให้พลังงาน ปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละมื้อประมาณ 2-3 ทัพพี แต่ถ้ามีอาหารว่างระหว่างมื้อด้วย ก็ต้องลดลงไปตามส่วน เพราะถ้าบริโภคมากเกินไป ก็จะทำให้น้ำหนักเพิ่มได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นของผัดที่ใช้น้ำมันมาก ๆ
• อาหารกลุ่มถั่วเมล็ดแห้ง พืชเมล็ด ให้โปรตีนเป็นหลัก และเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์เท่ากับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ดังนั้นในช่วงเทศกาลอาหารเจ เราจึงเห็นผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองต่างๆมากมายนำมาทำเป็นอาหารและผลิตภัณฑ์เครื่องเครื่องดื่ม อย่างนมถั่วเหลืองซึ่งก็เป็นเครื่องดื่มที่เป็นเเหล่งของโปรตีนที่ดี ดื่มเพียงวันละ 2-3 แก้ว เราก็จะได้รับโปรตีนคุณภาพในปริมาณที่เพียงพอแล้ว และที่ขาดไม่ได้ที่จะต้องพูดถึง คือ งา ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารเจ งาจะมีกรดอะมิโน และ กรดไขมันที่จำเป็นสำหรับร่างกาย
• อาหารกลุ่มผักผลไม้ อาหารเจที่ขายกันอยู่ทั่วไป ถ้าเป็นผักก็มักจะนำมาต้มจนเปื่อย หรืออุนซ้ำบ่อย ๆ จนทำให้สูญเสียวิตามินหมด จึงขอแนะนำว่า ควรได้รับผักสดบ้าง อาจทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกเจก็ได้ เพื่อให้ได้วิตามินเพียงพอ ปริมาณผักที่ควรได้รับคือมื้อละประมาณ 2 ทัพพี สำหรับผลไม้ ควรทานทุกมื้อหลังอาหารหรือช่วงมื้อว่าง อาหารกลุ่มนี้ให้วิตามิน แร่ธาตุและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายดี
4. อาหารเจจะไม่มีอาหารรสจัด และ งดผัก 5 ชนิดคือ กระเทียม หอม หลักเกียว กุยช่ายและใบยาสูบ ซึ่งเป็นผักที่มีกลิ่นแรง มีผลต่ออวัยวะทั้ง 5 ได้แก่ หัวใจ ไต ม้าม ตับ ปอด และทำให้จิตใจไม่สงบ
การทานอาหารเจมีหลักง่ายๆ คือ ควรเน้นที่สีของอาหาร ไม่ว่าจะเป็นถั่ว ผัก ผลไม้ ควรทานให้ครบ 5 สี คือ ขาว ดำ แดง เขียว เหลือง การกำหนดสีของผักนี้ เป็นภูมิปัญญาของคนเก่าคนก่อนที่ทำให้เราได้ความหลากหลาย และครบถ้วนของ สารอาหาร ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่จะให้สารอาหารครบถ้วน บางอย่างมีวิตามิน ชนิดหนึ่งมาก บางอย่างมีอีกชนิดมาก เมื่อทานอย่างหลากหลายก็จะได้ประโยชน์ครบถ้วน ข้อควรระวัง คือ หลีกเลี่ยงอาหาร ที่ปรุงด้วยน้ำมันมาก ๆ และล้างผักให้สะอาดก่อนนำไปปรุงอาหาร
การกินเจ ควรเดินสายกลาง เลือกกินและปรุงให้เหมาะ การกินเจ 9 วัน อาจทำให้ลดน้ำหนักได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้าทานแต่อาหารมัน ๆ น้ำหนักที่อยากลดก็อาจเพิ่มได้ ท่านเป็นผู้เลือกได้ ขอให้ท่านมีสุขภาพที่ดีทั้งทางกายและใจ ในช่วง เทศกาลกินเจที่กำลังจะมาถึงนี้ และอย่าลืมแบ่งปันความสุขด้วยรอยยิ้มให้แก่กันและกัน
ที่มา : บทความมติชน ตอนที่ 2ประจำวันอาทิตย์ที่ 28 ก.ย .46โดย รศ . ดร . ประไพศรี ศิริจักรวาล สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการอาหารเจกันสักหน่อย เพื่อที่เราจะได้เลือกทานอาหารเจให้เป็น อย่าลืมว่า แม้อาหาร เจจะเป็นอาหารสุขภาพ แต่ถ้าเราบริโภคไม่ได้สัดส่วน ไม่ถูกหลักโภชนาการ โอกาสที่ปัญหาสุขภาพจะรุมเร้า ก็เกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่ตัดสินใจกินเจระยะยาว
หลักการของอาหารเจ คือ
• อาหารกลุ่มข้าว - แป้ง เผือกมัน อาหารกลุ่มนี้รวมถึงพวกเส้น ๆทั้งหลาย เช่น หมี่ซั่วผัด อาหารกลุ่มนี้ให้สารอาหารคาร์โบไฮเดรตซึ่งให้พลังงาน ปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละมื้อประมาณ 2-3 ทัพพี แต่ถ้ามีอาหารว่างระหว่างมื้อด้วย ก็ต้องลดลงไปตามส่วน เพราะถ้าบริโภคมากเกินไป ก็จะทำให้น้ำหนักเพิ่มได้ โดยเฉพาะถ้าเป็นของผัดที่ใช้น้ำมันมาก ๆ
• อาหารกลุ่มถั่วเมล็ดแห้ง พืชเมล็ด ให้โปรตีนเป็นหลัก และเป็นโปรตีนที่สมบูรณ์เท่ากับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ดังนั้นในช่วงเทศกาลอาหารเจ เราจึงเห็นผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองต่างๆมากมายนำมาทำเป็นอาหารและผลิตภัณฑ์เครื่องเครื่องดื่ม อย่างนมถั่วเหลืองซึ่งก็เป็นเครื่องดื่มที่เป็นเเหล่งของโปรตีนที่ดี ดื่มเพียงวันละ 2-3 แก้ว เราก็จะได้รับโปรตีนคุณภาพในปริมาณที่เพียงพอแล้ว และที่ขาดไม่ได้ที่จะต้องพูดถึง คือ งา ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารเจ งาจะมีกรดอะมิโน และ กรดไขมันที่จำเป็นสำหรับร่างกาย
• อาหารกลุ่มผักผลไม้ อาหารเจที่ขายกันอยู่ทั่วไป ถ้าเป็นผักก็มักจะนำมาต้มจนเปื่อย หรืออุนซ้ำบ่อย ๆ จนทำให้สูญเสียวิตามินหมด จึงขอแนะนำว่า ควรได้รับผักสดบ้าง อาจทานเป็นผักจิ้มน้ำพริกเจก็ได้ เพื่อให้ได้วิตามินเพียงพอ ปริมาณผักที่ควรได้รับคือมื้อละประมาณ 2 ทัพพี สำหรับผลไม้ ควรทานทุกมื้อหลังอาหารหรือช่วงมื้อว่าง อาหารกลุ่มนี้ให้วิตามิน แร่ธาตุและใยอาหาร ช่วยให้ระบบขับถ่ายดี
4. อาหารเจจะไม่มีอาหารรสจัด และ งดผัก 5 ชนิดคือ กระเทียม หอม หลักเกียว กุยช่ายและใบยาสูบ ซึ่งเป็นผักที่มีกลิ่นแรง มีผลต่ออวัยวะทั้ง 5 ได้แก่ หัวใจ ไต ม้าม ตับ ปอด และทำให้จิตใจไม่สงบ
การทานอาหารเจมีหลักง่ายๆ คือ ควรเน้นที่สีของอาหาร ไม่ว่าจะเป็นถั่ว ผัก ผลไม้ ควรทานให้ครบ 5 สี คือ ขาว ดำ แดง เขียว เหลือง การกำหนดสีของผักนี้ เป็นภูมิปัญญาของคนเก่าคนก่อนที่ทำให้เราได้ความหลากหลาย และครบถ้วนของ สารอาหาร ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เพราะไม่มีอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งที่จะให้สารอาหารครบถ้วน บางอย่างมีวิตามิน ชนิดหนึ่งมาก บางอย่างมีอีกชนิดมาก เมื่อทานอย่างหลากหลายก็จะได้ประโยชน์ครบถ้วน ข้อควรระวัง คือ หลีกเลี่ยงอาหาร ที่ปรุงด้วยน้ำมันมาก ๆ และล้างผักให้สะอาดก่อนนำไปปรุงอาหาร
การกินเจ ควรเดินสายกลาง เลือกกินและปรุงให้เหมาะ การกินเจ 9 วัน อาจทำให้ลดน้ำหนักได้ แต่ในทางกลับกัน ถ้าทานแต่อาหารมัน ๆ น้ำหนักที่อยากลดก็อาจเพิ่มได้ ท่านเป็นผู้เลือกได้ ขอให้ท่านมีสุขภาพที่ดีทั้งทางกายและใจ ในช่วง เทศกาลกินเจที่กำลังจะมาถึงนี้ และอย่าลืมแบ่งปันความสุขด้วยรอยยิ้มให้แก่กันและกัน
ที่มา : บทความมติชน ตอนที่ 2ประจำวันอาทิตย์ที่ 28 ก.ย .46โดย รศ . ดร . ประไพศรี ศิริจักรวาล สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น