ประเทศฝรั่งเศส
ประวัติศาสตร์
ประเทศฝรั่งเศสสืบเชื้อสายมาจากพวกโกลในศตวรรษที่ 1 จากนั้นตกมาอยู่ใต้การปกครองของพวกแฟรงก์ (ชื่อประเทศ France มาจากคำว่าแฟรงก์เช่นกัน) ปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ที่มีบันทึกว่าเริ่มในศตวรรษที่ 5 เมื่อพระเจ้าชาร์เลอมาญตั้งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ใน ค.ศ. 843 ก็มีอาณาเขตครอบคลุมทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนี
ราชสำนักฝรั่งเศสขึ้นสู่จุดสูงสุดในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งในยุคนี้ฝรั่งเศสได้เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในยุโรป และมีอำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ ศิลปะ และ วัฒนธรรม ต่อยุโรปเป็นอย่างมาก
ภาพ La Liberté guidant le peuple หรือ เสรีภาพสู่ประชาชน เล่าเรื่องเหตุการณ์ตอนปฏิวัติฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสปกครองด้วยระบอบกษัตริย์จนถึงการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1792 จึงเปลี่ยนมาใช้ระบอบสาธารณรัฐ หลังจากนั้นนโปเลียน โบนาปาร์ตได้ตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดิและรุกรานประเทศอื่น ๆ ในทวีปยุโรป เมื่อนโปเลียนพ่ายแพ้ ฝรั่งเศสจึงกลับมาใช้ระบบสาธารณรัฐอีกครั้ง เรียกว่ายุคสาธารณรัฐที่สอง แต่ก็อยู่ได้ไม่นานเพราะหลุยส์ นโปเลียน หลานลุงของนโปเลียนได้ยึดประเทศและตั้งจักรวรรดิที่สองอีกครั้ง
ตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 ถึง ทศวรรษที่ 60 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคม จักรวรรดิฝรั่งเศสมีพื้นที่ใหญ่มาก โดยช่วงที่ใหญ่ที่สุดคือช่วงยุคทศวรรษที่ 20 ถึง 30 ซึ่งมีกว่า 12,898,000 ตารางกิโลเมตร และเป็นจักรวรรดิอันดับสองของโลก รองมาจากจักรวรรดิอังกฤษ
ฝรั่งเศสได้รับความบอบช้ำอย่างหนักจากสงครามโลกทั้งสองครั้ง ปัจจุบันใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบที่มีทั้งประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรี (เรียกยุคสาธารณรัฐที่ห้า) ทศวรรษที่ผ่านมาฝรั่งเศสและเยอรมนีเป็นผู้นำของการรวมตัวตั้งประชาคมยุโรป ซึ่งพัฒนามาเป็นสหภาพยุโรปในปัจจุบัน
ฝรั่งเศสยังเป็น 1 ใน 5 สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ และเป็นประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครอง
ภาษาฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: français, อังกฤษ French) เป็นหนึ่งในภาษากลุ่มโรมานซ์ที่สำคัญที่สุด เป็นรองเพียงภาษาสเปนและโปรตุเกส ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาที่มีคนพูดมากเป็นอันดับที่ 11 ของโลก โดยเมื่อปี พ.ศ. 2542 มีคนพูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแรก (ฟรองโกโฟน) ประมาณ 77 ล้านคน และเมื่อรวมคนที่พูดเป็นภาษาที่สองแล้วจะมีประมาณ 128 ล้านคน
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ และภาษาที่ใช้ปกครองในชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส รวมถึงองค์กรต่าง ๆ ด้วย (เช่น สหภาพยุโรป ไอโอซี องค์การสหประชาชาติ และ สหภาพสากลไปรษณีย์) ในสมัยก่อนภาษาฝรั่งเศสถือเป็นภาษาสากลที่แพร่หลายที่สุด โดยมีสถานะดังเช่นภาษาอังกฤษในปัจจุบัน หนังสือเดินทางของไทยก็เคยใช้ภาษาฝรั่งเศสควบคู่กับภาษาไทย
ประวัติ
ยุคเริ่มแรก
ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาในกลุ่มภาษาโรมานซ์ หมายความว่าเป็นภาษาที่มีต้นกำเนิดจากภาษาละตินที่พูดกันในจักรวรรดิโรมันโบราณ ก่อนหน้าที่ดินแดนที่เป็นที่ตั่งประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันจะอยู่ใต้การปกครองของโรมัน ดินแดนดังกล่าวเคยอยู่ใต้การปกครองของพวกกอล ซึ่งเป็นหนึ่งในชนชาติเซลต์ ในสมัยนั้นดิินแดนประเทศฝรั่งเศสมีคนที่พูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กันหลายภาษา แม้ว่าชาวฝรั่งเศสจะชอบสืบที่มาของภาษาของตนไปถึงพวกกอล (les Gaulois) แต่มีคำในภาษาฝรั่งเศสเพียง 2,000 คำเท่านั้นที่มีที่มามาจากภาษาของพวกกอล ซึ่งโดยมากจะเป็นคำที่ใช้เป็นชื่อสถานที่ หรือเป็นคำที่มีความหมายเกี่ยวกับธรรมชาติ
หลังจากดินแดนของพวกกอลถูกชาวโรมันยึดครอง คนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นก็หันมาพูดภาษาละติน ซึ่งภาษาละตินที่พูดกันในบริเวณนี้ ไม่ใช่ภาษาละตินชั้นสูงแบบที่พูดกันในหมู่ชนชั้นสูงของกรุงโรม แต่เป็นภาษาละตินของชาวบ้าน (vulgar latin) ที่พูดกันในหมู่พลทหาร นอกจากนี้ ภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศสนั้น ก็ได้รับอิทธิพลจากภาษากอลอยู่พอควร เนื่องจากสิ่งของบางอย่างที่ใช้กันอยู่ในกอล พวกโรมันไม่มีชื่อเรียก จึงต้องขอยืมคำในภาษากอลมาเรียกสิ่งของเหล่านั้น เช่น les braies ซึ่งแปลว่าเครื่องแต่งกายจำพวกกางเกงของชาวกอล
ยุคอาณาจักรแฟรงก์
หลังจากคริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นต้นมา จักรวรรดิโรมันก็เสื่อมอำนาจ ดินแดนหลายส่วนของจักรวรรดิโรมันตกอยู่ในเงื้อมมือของชนเผ่าป่าเถื่อนหลายพวก ชนเผ่าป่าเถื่อนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนที่เป็นประเทศฝรั่งเศสปัจจุบัน ได้แก่ ชนเผ่าแฟรงก์ที่อาศัยอยู่ทางเหนือ ชนเผ่าวิซิกอทที่อาศัยอยู่ทางใต้ ชนเผ่าเบอร์กันดีในบริเวณริมแม่น้ำโรน และชนเผ่าเอลแมนที่อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนของประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนี ชนเผ่าป่าเถื่อนเหล่านี้พูดภาษาในกลุ่มภาษาเยอรมนิก สำเนียงของชนเหล่านี้ได้ส่งผลต่อภาษาละตินที่เคยพูดอยู่เดิมในฝรั่งเศส และคำจากภาษาของชนป่าเถื่อน ได้แก่ คำที่มีความหมายเกี่ยวกับยุทธวิธีในการรบ และชนชั้นทางสังคม ได้ถูกนำมาใช้ในภาษาละตินที่พูดกันอยู่ในฝรั่งเศส โดยภาษาฝรั่งเศสปัจจุบันมีคำที่มีที่มาจากคำในภาษาของชนป่าเถื่อนอยู่ราว ๆ ร้อยละ 15
ภาษาฝรั่งเศสในยุคกลาง
นักภาษาศาสตร์ได้แบ่งกลุ่มภาษาฝรั่งเศสที่พูดกันในยุคกลางออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกคือภาษาที่เรียกกันว่า Langue d'Oïl พูดกันอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ กลุ่มที่สองคือ Langue d'Oc ที่พูดกันอยู่ทางใต้ของประเทศ และกลุ่มที่สามคือ Franco-Provençal ซึ่งเป็นการผสมผสานกันของสองภาษาแรก
Langue d'Oïl เป็นภาษาที่ใช้คำว่า oïl ในคำพูดว่า "ใช่" (ปัจจุบันใช้คำว่า oui) ในสมัยกลางภาษานี้จะพูดกันในตอนเหนือของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งภาษานี้ได้พัฒนามาเป็นภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน
Langue d'Oc เป็นภาษาที่ใช้่คำว่า oc ในคำพูดว่า "ใช่" ภาษานี้พูดกันอยู่ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและทางเหนือของสเปน ซึ่งภาษานี้จะมีลักษณะคล้ายกับภาษาละตินมากกว่า Langue d'Oïl
ภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่
นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสที่พูดในช่วงก่อนหน้าปี พ.ศ. 1843 ซึ่งก็คือภาษา Langue d'Oïl ว่าเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ เอกสารฉบับแรกที่เขียนขึ้นเป็นภาษาฝรั่งเศสโบราณ คือ "คำปฏิญาณแห่งทรัสบูร์ก" (Strausbourg) ซึ่งเขียนขึ้นในปี พ.ศ. 1385
ในปี พ.ศ. 2082 พระเจ้าฟรองซัวที่ 1 ได้ออกพระราชกฎษฎีกาที่กำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการของฝรั่งเศสแทนที่ภาษาละติน และกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการบริหารราชการ ในราชสำนัก และในการพิจารณาคดีในศาล ในช่วงนี้ได้มีการปรับปรุงตัวสะกดและการออกเสียงในภาษาฝรั่งเศส นักวิชาการเรียกภาษาฝรั่งเศสในยุคนี้ว่า ภาษาฝรั่งเศสยุคกลาง ในศตวรรษที่ 17 หลังจากที่มีการกำหนดมาตรฐานภาษาฝรั่งเศสให้พูดสำเนียงเดียวกันทั่วประเทศ การปรับปรุงและการกำหนดหลักต่างๆ ของภาษา ก็ทำให้เกิดภาษาฝรั่งเศสที่เรียกกันว่าภาษาฝรั่งเศสยุคใหม่ ซึ่งพูดกันอยู่ในปัจจุบัน
ในปี พ.ศ. 2177 พระคาร์ดินัลรีเชอลีเยอได้ก่อตั้งองค์การที่เรียกว่า L'Académie Française (อากาเดมี ฟรองแซส) เพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาภาษาฝรั่งเศสไว้ไม่ให้วิบัติ และคงภาษาฝรั่งเศสให้อยู่ในรูปแบบเดิมให้มากที่สุด หน้าที่สำคัญหน้าที่หนึ่งขององค์กรนี้ คือ การออกพจนานุกรม
ในช่วงศตวรรษที่ 17-19 ฝรั่งเศสได้มีบทบาทสำคัญในการเมืองของทวีปยุโรป และเป็นศูนย์กลางของปรัชญารู้แจ้งที่แพร่หลายกันอยู่ในสมัยนั้น ทำให้อิทธิพลของภาษาฝรั่งเศสแผ่ออกไปกว้างขวางและกลายเป็นภาษากลางของยุโรป มีบทบาทสำคัฐทางการทูต วรรณคดี และศิลปะ มหาราชในยุคนั้นสองพระองค์ คือ พระนางแคทเธอรีนมหาราชินีแห่งรัสเซีย และพระเจ้าเฟรดริกมหาราชแห่งปรัสเซีย สามารถตรัสและทรงพระอักษรเป็นภาษาฝรั่งเศสได้ดีผู้รู้ภาษาฝรั่งเศสในกลุ่สหภาพยุโรป
ภาษาฝรั่งเศสในปัจจุบัน
ถูกแทรกซึมโดยอิทธิพลของภาษาอังกฤษที่แผ่ขยายอย่างกว้างขวาง มีการนำคำภาษาอังกฤษมาใช้่ปะปนกับภาษาฝรั่งเศสเดิมอย่างแพร่หลาย ซึ่งมีผลเสียต่อการอนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส รัฐบาลได้ออกกฎหมายบางฉบับเพื่ออนุรักษ์ภาษาฝรั่งเศส โดยกำหนดให้ใช้คำจากภาษาฝรั่งเศสแท้ๆ ในโฆษณา ประกาศ และเอกสารราชการต่าง ๆ นอกจากนี้ยังกำหนดให้สถานีวิทยุทุกสถานี เปิดเพลงภาษาฝรั่งเศสอย่างน้อยร้อยละ 40 ของเพลงทั้งหมดที่เปิดในสถานีนั้น
สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศฝรั่งเศส
ฝรั่งเศสกำหนดให้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการของประเทศตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 รัฐบาลกำหนดให้เอกสารราชการ สัญญาต่าง ๆ การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การศึกษา จะต้องทำเป็นภาษาฝรั่งเศส หากจำเป็นต้องใช้คำภาษาต่างประเทศ ก็ให้ใส่คำแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสควบคู่กันไปด้วย
อย่างไรก็ดี ทางการไม่ได้ควบคุมการใช้ภาษาในเอกสารของเอกชน และในเว็บไซต์ของเอกชน ซึ่งหากทำการควบคุมแล้ว ก็อาจขัดต่อหลักการเสรีภาพในการพูดได้
สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศแคนาดา
ร้อยละ 12 ของคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ในโลกนี้เป็นชาวแคนาดา และภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาราชการสองภาษาของแคนาดา (อีกภาษาหนึ่งคือภาษาอังกฤษ) กฎหมายของแคนาดากำหนดให้บริการต่างๆของรัฐบาลกลางจะต้องจัดให้เป็นสองภาษาเสมอ กฎหมายต่างๆ ที่ผ่านรัฐสภา จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส และฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่วางขายในแคนาดาจะต้องมีภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส ร้อยละ 22 ของชาวแคนาดาใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ และร้อยละ 18 ของชาวแคนาดาสามารถพูดได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
ภาษาฝรั่งเศสมีสถานะเป็นภาษาราชการเพียงภาษาเดียวของรัฐควิเบก (เกเบก - Québec) มาตั้งแต่การบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยภาษาฝรั่งเศส (Bill 101) ผลสำคัญข้อหนึ่งของกฎหมายฉบับนี้คือกำหนดให้เด็กในควิเบกต้องได้รับการศึกษาเป็นภาษาฝรั่งเศส ยกเว้นถ้าบิดามารดาของเด็กคนนั้นได้รับการศึกษาส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษภายในประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นการทำลายค่านิยมของผู้อพยพที่มักส่งบุตรหลานของคนเข้าเรียนในโรงเรียนที่สอนเป็นภาษาอังกฤษ กฎหมายนี้ยังกำหนดให้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในการพิจารณาคดี โฆษณา การอภิปรายในสภา และการพิจารณาคดีในศาล ภายในควิเบก ในปี พ.ศ. 2536 กฎหมายนี้ได้รับการแก้ไข โดยอนุญาตให้เขียนป้ายสัญลักษณ์หรือโฆษณาต่าง ๆ เป็นภาษาอังกฤษได้บ้าง ตราบใดที่ยังมีภาษาฝรั่งเศสเป็นส่วนมาก นอกจากนี้ยังทำให้คนที่พูดภาษาอังกฤษแต่อาศัยในควิเบกสามารถรับบริการทางสุขภาพและบริการของรัฐเป็นภาษาอังกฤษได้
รัฐอื่น ๆ ที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการควบคู่ไปกับภาษาอังกฤษ ได้แก่รัฐนิวบรันสวิก ยูคอนเทร์ริทอรี นอร์ทเวสต์เทร์ริทอรีีส์ และนูนาวุต ในรัฐออนแทรีโอ และแมนิบา ภาษาฝรั่งเศสไม่ได้มีสถานะเป็นภาษาราชการ แต่รัฐบาลของรัฐทั้งสองรัฐได้จัดการบริการต่าง ๆ เป็นภาษาฝรั่งเศสคู่กับภาษาอังกฤษ ในบริเวณที่มีคนที่พูดภาษาฝรั่งเศสอาศัยอยู่มาก
สถานะของภาษาฝรั่งเศสในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
ภาษาฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในภาษาราชการของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ภาษาอื่น ๆ ได้แก่ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาลี และภาษาโรมานช์
การเขียนคำทับศัพท์ภาษาฝรั่งเศส
หลักทั่วไป
สระ ให้ถอดตามการออกเสียงในพจนานุกรมภาษาฝรั่งเศส โดยเทียบเสียงสระภาษาไทยตามตารางเทียบเสียงสระภาษาฝรั่งเศส เช่น
Papa = ปาปา
พยัญชนะ ให้ถอดเป็นพยัญชนะไทยตามหลักเกณฑ์ในตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษาฝรั่งเศส เช่น
demi = เดอมี
sec = แซก
พยัญชนะที่ในภาษาฝรั่งเศสไม่ออกเสียง ไม่ต้องถอดเป็นพยัญชนะไทย เช่น
(le)[1] ticket = ตีเก
(le) prix = ปรี
chaud = โช
Sept = แซต
คำที่มีพยัญชนะท้ายคำตามด้วยสระ e ให้ทับศัพท์โดยละเสียง e แต่คงพยัญชนะหน้า e ไว้ และใส่เครื่องหมายทัณฑฆาต เช่น
(la) lampe = ลองป์
(le) reste = แรสต์
ถ้าพยัญชนะท้ายคำเป็นพยัญชนะควบกล้ำ ให้ใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น
Legendre = เลอช็องดร์
(la) chèvre = แชฟวร์
คำที่มีพยัญชนะซ้อน (double letter) ให้ถือเป็นหน่วยเสียงเดียวและถอดเป็นพยัญชนะไทยเพียงตัวเดียว เช่น
(la) ville = วีล
(l') allée = อาเล
(la) femme = ฟาม
ตัวอักษรภาษาฝรั่งเศส ในการเขียนตัวย่อใช้ดังนี้
A = อา B = เบ C = เซ D = เด E = เออ F = แอฟ G = เช H = อาช I = อี J = ชี K = กา L = แอล M = แอม N = แอน O = โอ P = เป Q = กู R = แอร์ S = แอส T = เต U = อู V = เว W = ดูเบลอเว X = อิกซ์ Y = อีแกรก Z = แซด
หลักเกณฑ์อื่น ๆ เช่น การใช้เครื่องหมายทัณฑฆาต ไม้ไต่คู้ เครื่องหมายวรรณยุกต์ ให้ถือตามหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
รอบรู้ ก่อนเดินทาง สู่….ประเทศ ฝรั่งเศส
ความรู้ทั่วไป
จำนวนประชากร : 58.3 ล้านคน ( 01 มกราคม 2539) เป็นอันดับที่ 17 ของโลกความหนาแน่นของประชากร : 105 คน ต่อตารางกิโลเมตร
พื้นที่ : มีพื้นที่ 551,000 ตารางกิโลเมตร เป็นประเทศที่มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดในยุโรป หรือหนึ่งในสี่ของพื้นที่ในประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หากมองดูจากแผนที่ประเทศฝรั่งเศสแล้ว จะเห็นว่าเป็นเหมือนรูปหกเหลี่ยม ดังนั้นบางครั้งคนฝรั่งเศสจึงเรียกประเทศของตนว่า L'hexagone ซึ่งแปลว่ารูปหกเหลี่ยม
การปกครอง :
การปกครองแบบรัฐธรรมนูญปี 1958 แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี 1962 มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ (คนปัจจุบัน President Jacques Chirac) เข้าดำรงตำแหน่งโดยการเลือกตั้ง ซึ่งมีขึ้นทุกๆ 7 ปี ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ รัฐสภา ประกอบด้วย 2 สภา สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งประกอบด้วยสมาชิก (สส) ที่มาจากการเลือกตั้งทุกๆ 5 ปี วุฒิสภา ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับการเลือกตั้งทางอ้อมทุกๆ 9 ปี และ 1 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกเลือกตั้งทุกๆ 3 ปี
เพลงชาติ ลา มาร์แซยแยสา (La Marseillaise) แต่งโดย รูเชต์ เดอ ลิลล์ (Rouget De Lisle) โดยคำสั่งของนายกรัฐมนตรีเมืองสตราสบูร์กเมื่อปี 1792 เดิมมีชื่อว่า าเพลงรบกองทัพแห่งไรน์า (Chant de Guerre pour I'Armee du Rhine) ซึ่งมีท่วงทำนองและเนื้อร้องที่เร้าใจ ทำให้เพลงนี้ติดปากชาวฝรั่งเศส และเปลี่ยนมาเป็นเพลงประจำชาติในชื่อของ าลา มาร์แซยแยสา เมื่อปี 1795
ธงชาติ ธงไตรรงค์ หรือ Tricolore เป็นธงต้นฉบับของธงชาติที่หลายประเทศนำมาใช้ ซึ่งประกอบด้วย 3 สี คือ แดง น้ำเงิน ขาว เดิมทีธงลาฟาแยต (La Fayette) ซึ่งในขณะนั้นมี 2 สี คือ แดง และ น้ำเงิน อันเป็นสัญลักษณ์ของกองทหารรักษาพระนครในกรุงปารีสได้ก่อการปฏิวัติ ต่อมาในปี 1789 (พ.ศ. 2332) มีการเพิ่มสีขาวอันเป็นสัญญลักษณ์แห่งความภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ในพระราชวงศ์บูร์บองส์เข้าไป และได้นำมาใช้เป็นธงชาติมาตราบเท่าทุกวันนี้
ภูมิอากาศ มี 3 ประเภท คือแบบภาคพื้นสมุทร แบบภูเขา และแบบเมดิเตอร์เรเนียน ในส่วนของนครปารีส นั้น มีอุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปี 12 องศาเซลเซียส แต่เอาแน่อะไรกับภูมิอากาศปารีสไม่ค่อยได้ ฝนตกได้ทุกฤดูกาล และบางทีอุณหภูมิหน้าหนาวลดลงกว่า 3 องศาเซลเซียส เรียกได้ว่าถ้าจะไปปารีส ก็ต้องเตรียมตัวรับหลายสถานการณ์ ทางใต้ของฝรั่งเศส มีอากาศอบอุ่นที่สุดเป็นเขตที่มีลมชื่อ มิสทรัล (Mistral) พัดผ่านในราวฤดูใบไม้ผลิ
เงินตรา
และธนาคารหน่วยเงินของฝรั่งเศส : คือฟรังค์ (FF) 1 ฟรังค์มีค่าเท่ากับ 100 ซองตีม (เซนต์) ซึ่งมีมูลค่าเป็นเงินไทยประมาณ 7 บาท (เดือน มิถุนายน 2541) ธนบัตรฝรั่งเศสมีมูลค่า 500,200,100,50 และ 20 ฟรังค์ เงินเหรียญของฝรั่งเศสมีมูลค่า 50,20,10 และ 5 ซองตีม เหรียญ 50 ซอง จะออกมาในลักษณะ ฟรังค์
ธนาคารบางแห่งในฝรั่งเศสอาจจะไม่รับแลกเงิน ดังนั้นนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะแลกเงิน สามารถแลกได้จากธนาคารที่มีคำว่า Exchange เขียนบอกไว้ หรือจากที่ทำการไปรษณีย์ที่มีเคาน์เตอร์สำหรับแลกเงิน เวลาทำการของธนาคารบางแห่งอาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละท้องที่ เช่นธนาคารที่อยู่ในเมืองทางเมืองทางตอนเหนือของฝรั่งเศสจะเปิดวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.30-16.30 หรือ 17.15 น. บางแห่งอาจจะหยุดพักเที่ยงด้วย ธนาคารที่อยู่ในเมืองทางใต้ส่วนใหญ่จะเปิดวันอังคาร-เสาร์ เวลา 8.00-12.00 น. และ 13.30-16.30 น. และเคาน์เตอร์สำหรับแลกเงินของธนาคารมักจะปิดทำการเร็วกว่าเวลาปิดบริการของธนาคารครึ่งชั่วโมง หากพกเงินเป็นจำนวนมาก ขอแนะนำให้ใช้เช็คเดินทางจะปลอดภัยกว่า ในกรณีของบัตรเครดิตเป็นที่ยอมรับทั่วไปในประเทศ ได้แก่ วีซ่าการ์ด นิยมมากที่สุด ตามด้วยมาสเตอร์การ์ด ไดเนอร์คลับ และบัตรอเมริกันเอ็กซ์เพรส ตามลำดับ
การทิป : ตามกฏหมายฝรั่งเศส ร้านอาหารหรือภัตตาคาร สามารถคิดค่าเซอร์วิสชาร์จได้ ประมาณ 10-15% ของราคาอาหาร ดังนั้นการทิปอาจจะไม่จำเป็นเท่าไรนัก แต่คนส่วนมากมักจะทิ้งเศษเหรียญ หรือเงินสัก 2-3 ฟรังค์ ไม่ว่าจะกินกันในจำนวนเงินแค่ไหนก็ตาม หรือถ้าเราพอใจการบริการของเขา ก็อาจจะทิปให้มาก ถ้าไปนั่งกินกาแฟที่ร้าน ควรจะทิ้งเงินทิปไว้สัก 1 ฟรังค์ แต่ถ้าบริการไม่ดีก็ไม่จำเป็นต้องทิปก็ได้ ทั้งนี้ในส่วนของเท็กซี่ และโรงภาพยนต์ ปกติจะทิปประมาณ 2-3 ฟรังค์
โทรศัพท์ โทรศัพท์สาธารณะในฝรั่งเศสมีทั้งแบบใช้บัตรและแบบหยอดเหรียญ ถ้าเป็นในเมืองใหญ่ๆ มักจะเป็นแบบใช้บัตร บัตรโทรศัพท์มี 2 มูลค่า คือ 40 ฟรังค์ มี 50หน่วย และ 96 ฟรังค์ มี 120 หน่วย หากจะโทรศัพท์กลับมาเมืองไทยขอแนะนำให้ใช้บัตรโทรศัพท์จะสะดวกกว่าแบบหยอดเหรียญ หาซื้อบัตรโทรศัพท์ได้ที่ที่ทำการไปรษณีย์ แผงขายหนังสือที่มีอยู่ทั่วไป หรือตามสถานีรถไฟ และร้านขายของที่มีเขียนป้ายติดว่าจำหน่ายบัตรโทรศัพท์ หรือ าTelecarteา หากจะโทรศัพท์มาประเทศไทยด้วยโทรศัพท์สาธารณะจะต้องหมุน 19+66+รหัสเมือง+หมายเลขที่ต้องการ
หากอยู่ที่เมืองอื่นๆในฝรั่งเศส นอกเหนือจากเมืองปารีสและต้องการจะโทรศัพท์มายังปารีส หมุนหมายเลข16+1+หมายเลขที่ต้องการ
ถ้าอยู่ในปารีสและต้องการโทรศัพท์ไปยังเมืองอื่นๆ ให้หมุนหมายเลข 16+หมายเลขที่ต้องการ
หมายเลขโทรศัพท์ที่ควรรู้ 13-โอเปอร์เรเตอร์ 1614-โอเปอร์เรเตอร์สำหรับระหว่างประเทศ
ไฟฟ้า กระแสไฟที่ฝรั่งเศสใช้คือ 220 โวลท์ เป็นปลั๊กชนิด 2 ตา บางพื้นที่เป็นปลั๊กชนิด 3 ขา
น้ำประปา น้ำประปาในฝรั่งเศสสะอาดสามารถดื่มได้จากก๊อก น้ำจากก๊อกที่ไม่สะอาดพอจะมีป้ายบอกไว้เสมอว่า าไม่สามารถดื่มได้า หรือ eau non potable
เวลา เวลาของฝรั่งเศสจะช้ากว่าที่เมืองไทย 6 ชั่วโมง เวลาทำงานและประกอบกิจการ สำนักงานส่วนใหญ่จะเปิดทุกวัน ยกเว้นวันอาทิตย์และบางแห่งวันจันทร์ ชั่วโมงทำการคือ 9.00 หรือ 10.00 น.-18.30 หรือ 19.00 น. หยุดพักเที่ยงตั้งแต่ 12.00 หรือ 13.00 น.-14.00 หรือ 15.00 น. ร้านค้าทั่วไปจะเปิดร้านประมาณ 9.00-18.00 น. ตั้งแต่วันจันทร์-เสาร์ และมักพักตอนเที่ยง มีร้านค้าจำนวนมากที่จะปิดในช่วงวันจันทร์ และแทบทุกร้านจะไม่เปิดขายสินค้าในวันอาทิตย์โดยเฉพาะช่วงบ่ายเลย ร้านขนมปัง มักจะเปิดกันตั้งแต่ 7.00 น. และหยุดพักตอนเที่ยง หลังจากนั้นจะเปิดอีกครั้งจนถึงเวลาประมาณ 19.00 น. หรือเกินกว่านั้น ส่วนร้านที่ไม่หยุดพักในตอนเที่ยง ได้แก่ซูเปอร์มาเก็ต ห้างสรรพสินค้า
ช้อปปิ้งน้ำหอม นักท่องเที่ยวทั่วไปนิยมซื้อน้ำหอมยี่ห้อที่ฝรั่งเศสเป็นต้นตำรับ ซึ่งราคาจะถูกกว่าที่นำมาขายในต่างประเทศมาก เมืองที่มีชื่อเสียงในการผลิตหัวน้ำหอมกลิ่นต่างๆ ได้แก่เมืองนีส คานส์ ริเวียร่า เป็นต้น ยี่ห้อน้ำหอมที่ขึ้นชื่อที่ฝรั่งเศสเป็นเจ้าตำรับได้แก่ Christian Dior และน้ำหอมของ Caron, Givenchy, Rochas, Guerlain, Paco Rabanne เป็นต้น
เสื้อผ้าและสินค้าแฟชั่น ฝรั่งเศสมีชื่อเสียงมากโดยเฉพาะศูนย์รวมของดีไซเนอร์ชื่อดัง และเป็นต้นฉบับของแฟชั่นทั่วโลก
เครื่องดื่มที่มีแอลกฮอล์ฝรั่งเศสมีชื่อด้านนี้อย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ การเป็นแหล่งผลิตของไวน์ และแชมเปญที่สำคัญที่สุดของโลกในปัจจุบันไวน์ (Vin) หรือเหล้าองุ่นเริ่มผลิตขึ้นในฝรั้งเศสเป็นครั้งแรกตั้งแต่ยุคโรมัน โดยกองทัพโรมันที่เข้าปราบปรามอนารยชนได้นำวิธีการทำเหล้าองุ่นมาเผยแพร่และได้สืบทอดการทำไร่องุ่น และเหล้าไวน์มาจนปัจจุบัน ในหมู่นักดื่มไวน์นั้น ถือว่าไวน์ฝรั่งเศสเป็นไวน์ที่ดีทีสุดในโลก แหล่งผลิตไวน์ที่ขึ้นชื่อไดแก่ บอร์โดซ์ (Bordeux) เบอร์กันดี ชองปาญ อัลซาส ลัวร์ โรน โพรวองซ์ จูราและซาวอย และทางตอนใต้สุดของประเทศ
ไวน์แบ่งออกเป็น 3 สี คือ ไวน์ขาว (Blanc) ไวน์แดง (Rouge) และไวน์สีชมพู (Rose) โดยทั่วไปจะนิยมไวน์ขาว และไวน์แดง แต่ไวน์สีชมพูจะไม่เป็นที่นิยมและมักถือว่าเป็นไวน์ที่ดื่มเล่นๆเสียมากกว่า
รสชาติของไวน์นั้นจะแบ่งออกเป็น But = ธรรมดา, Sec = หวานเล็กน้อย, Demi-sec = หวาน, Doux = หวานมาก
คุณภาพของไวน์ที่ผลิตในฝรั่งเศสนั้นรัฐจะควบคุมให้ได้มาตรฐาน โดยแบ่งออกเป็น 4 ลำดับขั้น คือ1) Appellation d'Origine Controlee (AOC) เป็นไวน์ที่แจ้งรายละเอียดการผลิต ที่ผลิต การบรรจุขวด การบ่มไวน์อย่างละเอียดบนป้ายฉลาดขวด เป็นไวน์คุณภาพสูง และสามารถมีราคาสูงได้เป็นพันเป็นหมื่นบาทขึ้นอยู่กับปีที่ผลิตเป็นสำคัญ2) Vins Delimite de Qualite Superieure (VDQS) เป็นไวน์คุณภาพสูง เช่นเดียวกับไวน์ที่มี AOC ต่างกันตรงเป็นไวน์ที่ผลิตจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือสถานที่แห่งหนึ่งเป็นพิเศษ ซึ่งสถานที่นั้นๆได้รับการรับรองว่าผลิตไวน์ได้คุณภาพ เช่นไวน์จากบอร์โดซ์ ซึ่งจะบรรจุขวดรูปทรงไม่เหมือนกับไวน์ที่อื่นๆ ไวน์แบบนี้มีราคาสูงเช่นกัน3) Vin de Pays หรือไวน์ท้องถิ่น ราคาไม่ค่อยแพง คุณภาพปานกลางมักเสิร์ฟตามร้านอาหารทั่วไป4) Vin De Table หรือไวน์ธรรมดาๆ คุณภาพปานกลาง มักเสิร์ฟตามร้านอาหารแบบชาวบ้านโดยใส่มาเป็นเหยือก (carafe)องุ่นต่างพันธุ์จะให้รสชาติของไวน์ที่ต่างกันไป ชื่อพันธุ์องุ่นจะถูกบ่งบอกไว้ที่ขวดด้วย พันธุ์องุ่นที่กล่าวกันว่าดี ให้ไวน์รสกลมกล่อม นุ่มละมุนเป็นที่นิยมกันก็ คือpinot noir, pinot gris, pinot blanc, muscat, riesling, cabernet sauvignon, cabernet franc, merlot, petit verdot, malbec, muscadet, sauvignon, chenin blanc, gamay
นอกจากนี้ยังมีประเภท เครื่องสำอาง, กระเป๋าและเครื่องหนัง, ผ้าลูกไม้ฝรั่งเศสอาหารการกินในสมัยก่อนคนฝรั่งเศสสามัญชนโดยเฉพาะในชนบท จะถืออาหารกลางวันเป็นอาหารหลัก ส่วนในราชสำนักจะถือมื้อเย็นเป็นสำคัญ แต่ในปัจจุบันเวลาอาหารปกติ คือ กลางวัน 12.00-14.00 น. เย็น 20.00-22.00 น.เพราะฉะนั้นตามเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะปารีสร้านอาหารอาจเปิดประมาณ 11.30 น. ถึง บ่าย 2 โมง และเปิดอีกครั้งเวลา หนึ่งทุ่มไปจนถึงเที่ยงคืน บางร้านอาจเปิดไปจนถึงตีสองหรือตีสามเพื่อรับนักท่องเที่ยวราตรีโดยเฉพาะ
อาหารเย็นแบบเต็มยศ จะประกอบด้วยอาหารตั้งแต่ 6 จาน (คอร์ส) ขึ้นไป เสิร์ฟไวน์ตลอดเวลา ไม่นิยมเครื่องดื่มชนิดอื่นระหว่างรับประทานอาหารนอกจากน้ำหากไม่ดื่มไวน์ภัตตาคารที่หรูหราจะเสิร์ฟอาหารแบบเต็มยศ ซึ่งจะสั่งเพียง 2 หรือ 3 คอร์สก็ได้ การสั่งอาหารในภัตตาคารหรูจะเรียงลำดับดังนี้1. Aperitif (เหล้า หรือ เครื่องดื่มสำหรับจิบเรียกน้ำย่อย)2. Entree และ/หรือ ออร์เดิร์ฟ (อาหารจานแรก อาจมีซุปต่ออีกคอร์สก็ได้)3. Plat Pricipal (อาหารจากหลัก)4. Salade (สลัดเสิร์ฟเคียงกับอาหารจานหลัก)5. Fromage (เนยแข็งชนิดต่างๆ วางบนถาดไม้)6. Dessert (ของหวาน)7. Fruit (ผลไม้)8. Cafe หรือ The (กาแฟ หรือ ชา)9. Degestif (เหล้าหลังอาหาร)
รูปแบบของอาหาร ได้มีการแบ่งรูปแบบอาหารออกเป็นลำดับชั้น คือ1. Haute Cuisine อาหารที่ปรุงอย่างหรูหราสำหรับคนร่ำรวยใช้เวลาในการเตรียมนาน และเมื่อเสิร์ฟก็ต้องตกแต่งอย่างสวยงาม2. Cuisine Bougeoise อาหารที่ทำกินกันเองในบ้าน แต่ใช้เครื่องปรุงที่มีคุณภาพ3. Nouvelle Cuisine อาหารแนวใหม่ใช้เครื่องปรุงธรรมชาติแบบดูแลสุขภาพ เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจลดน้ำหนัก4. Cuisine des Province อาหารพื้นบ้านชนบทใช้เนื้อสัตว์และผักนานาชนิด โดยไม่แปรรูปให้วิจิตรพิสดาร
ร้านอาหาร ร้านอาหารในฝรั่งเศสแม้หน้าตาคล้ายๆ กัน แต่อาจเรียกไม่เหมือนกัน ด้วยลักษณะของอาหารที่ขายรวมทั้งเครื่องดื่มด้วย1. Restaurant คือ ภัตตาคาร มักจะขายอาหารเฉพาะอย่างเช่น อาหารไทย, อาหารเวียดนาม หรืออาหารทะเล รวมทั้งร้านที่ขายเฉพาะอาหารฝรั่งเศสด้วย จะเปิดขายอาหารกลางวันถึงประมาณบ่ายสามโมงแล้วปิด จะขายอาหารเย็นอีกครั้งราวหกโมงครึ่งไปจนถึง 4-5 ทุ่ม การสั่งอาหารจะค่อนข้างใช้เวลานาน2. Brasserie คือ ร้านอาหารที่เปิดขายตั้งแต่เช้าจรดเย็นโดยไม่มีเวลาหยุดพัก และมีอาหารเสิร์ฟทั้งวัน3. Cafe คือร้านกาแฟ เป็นแหล่งชุมชนของผู้คนในละแวกนั้น จะเสิร์ฟอาหารแบบง่ายๆ อาทิ แซนวิช หรือ ครัวซอง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นกาแฟ หรือเครื่องดื่มอื่นๆ4. Salon de The เป็นภาคที่หรูหราของคาเฟ่ เสิร์ฟอาหารเบาๆ พวกสลัด หรือ แซนวิช และมีขนมอบ ขนมหวาน เครป และไอศกรีมให้รับประทาน ส่วนใหญ่จะเปิดสายๆถึงหัวค่ำ5. Boulandgerie หรือร้านขายขนมปัง สดใหม่น่ารับประทาน จะเปิดแต่เช้าและปิดตอนใกล้ค่ำ6. Patisserie ร้านขายขนมอบนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นเพสตรี เอแคลร์ หรือครัวซอง บางร้านมีโต๊ะวางไว้เผื่อลูกค้าจะนั่งในร้าน และมีชา กาแฟเสิร์ฟ ด้วย7. Confiserie หมายถึงร้านที่ขายของหวานจำพวกช็อคโกเลต ลูกกวาด ผลไม้เชื่อม ในบางร้านอาจมีเค้ก พาย ที่แต่งอย่างหน้ารัก สวยงาม และพอคำ
อาหารจานเด็ด หากไปถึงฝรั่งเศสอย่าลืมลิ้มลองอาหารขึ้นชื่อเหล่านี้1. Fruits de mer คืออาหารทะเลสดๆ ประกอบด้วยกุ้ง หอย และปูหลากชนิดลวกพอสุก จัดวางบนน้ำแข็งเกล็ดในถาดใบโต รับประทานโดยการบีบมะนาว และจิ้มน้ำส้มสายชูใส่หัวหอมซอย ถ้าจะให้ดีต้องกลั้วคอด้วยไวน์ขาว และแนมให้หนักท้องด้วยข้าวไรย์ทาเนย อาหารจานนี้เป็นอาหารเมืองชายทะเลภาคตะวันตก2. Cog au vin หรือ ไก่อบซอสไวน์แดงใส่หอม และเห็ดดุม เป็นอาหารที่ภัตตาคารแทบทุกแห่งจะต้องบรรจุไว้ในเมนู3. Soupe a l oignon หรือซุบหัวหอม เป็นอาหารที่สำคัญอีกจานหนึ่ง หอมหัวใหญ่จะถูกหั่นเป็นเส้นบางๆ เคี่ยวจนเกือบเละในน้ำซุปรสเข้ม เมื่อจะเสิร์ฟ จึงลอยขนมปังที่อบร้อนโดยมีเนยแข็งวางอยู่ข้างบน4. Escargots a la Bourguignonne หอยทากเอสคาร์โกอบจนสุก พอออกจากเตาร้อนๆก็เอาเนยสดที่ผสมเครื่องเทศใส่ลงไปจนเต็มปากหอย รับประทานเรียกน้ำย่อย5. Pate de foie gras ตับบดปรุงรสด้วยเครื่องเทศ ทำจากตับห่านหรือตับเป็ด หากไม่บดก็อาจเป็นชิ้นๆ ปรุงด้วยเหล้าบรั่นดี
ขนมปังขนมปังของฝรั่งเศสที่เรียกว่า บาแกตต์ (Baquette) มีเอกลักษณ์พิเศษกว่าใคร ด้วยการทำเป็นทรงยาวกว่า 2 ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 นิ้ว เวลาทานมักบิออกด้วยมือ หรือฝานออกเป็นชิ้นๆ อีกชนิดที่นิยมคือ ครัวซอง
ขนมหวานขนมหวานที่เป็นที่รู้จักกันดี ได้แก่1. เครป (Crepe) เป็นเสมือนอาหารว่างมากกว่า พบเห็นทั่วไป ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือ เครปซูเซตต์ หรือเครปน้ำตาลใส่น้ำส้มและเหล้า2. มารองกลาสเซ่ (Marron Glace) หรือเกาลัดเชื่อมหวานสนิม ร้านที่ขายที่ขึ้นชื่อ คือร้าน Fauchon3. เอแคลร์ (Eclair) ขนมอบใส่ใส้ครีม
ขนมว่างเป็นอาหารง่ายที่กินระหว่างมื้อ ที่ขึ้นชื่อก็คือ โคร้ก เมอซิเออร์ (Croque monsieur) ซึ่งเป็นแซนวิชวางแฮมและเนยแข็งไว้ข้างบนแล้วเข้าอบ ถ้าวางไข่ดาวด้วยเรียก โคร้ก มาดาม (Croque madam)
เนยแข็งชนิดของเนยแข็งฝรั่งเศสที่ขึ้นชื่อ อาทิ 1. รอคฟอร์ต (Roquefort) เนยกลิ่นแรงรสจัดมีเส้นสีฟ้าๆอยู่ในเนื้อเนย 2. กามองแบร์ (Camembert) เนยสีขาวนวลเนื้อนิ่ม มีเปลือกสีขาวรอบนอก ซึ่งกินได้ แต่ไม่ค่อยกิน3. บรี (Brie) เนยสีฟ้า หรือ Blue
ภาษาฝรั่งเศสที่ควรรู้
ไทย
ฝรั่งเศส
ออกเสียง
สวัสดี (ตอนเช้า)
Bonjour
บงชู
สวัสดี (ตอนเย็น)
Bonsoir
บงซัว
ลาก่อน
Au revoir
โอ (เครอ) วัว
ใช่
Oui
หวิ
ไม่
Non
น็อง
กรุณา
S'll vous pla t
ซิล วู เปล
ขอบคุณ
Merci
แม็ก ซิ
ขอโทษ
Pardon
ปากดง
Excusez-moi
เอกซ์กูเซ มัว
สบายดีหรือ
Comment allez-vous
กอมมอง ตาเล วู้
คุณชื่อว่าอะไร
Comment Vous
กอม มอง วู
ฉันชื่อว่า
Je m'appelle
เชอ มาแปล์ว
ของนี้ราคาเท่าไร
C'est combien
เซ กง เบียง
ของนี้แพงเกินไป
C'est trop cher
เช โทรบ์ แชร์
ฉันต้องการซื้อ
Je voudrais acheter
เชอ วูเดร อะ เชเต้
ห้องน้ำอยู่ไหน
Ou est la toillette
อู เอ ลา ตัวแลต
Hotels in Paris:Hotels Paris, France -offer up to 75% discounts on all hotels in Paris
เวบของสถานทูตประเทศ ฝรั่งเศส
ประวัติศาสตร์ฝรั่งเศส
โกล
พวกโกลเป็นชนเผ่าพื้นเมืองโบราณในสมัยโรมันเรืองอำนาจ หลังจากโรมล่มสลายลง พวกโกลกระจัดกระจายอยู่ในแผ่นดินใหญ่ของยุโรป ประวัติศาสตร์ท้าวความไปถึงศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช จนกระทั่งอาณาจักรโรมันที่อยู่ใต้การปกครองของโกล ล่มสลายด้วยฝีมือของพวกแฟรงก์ในปี ค.ศ. 498
'ไก่' สัญลักษณ์ของประเทศฝรั่งเศส อันเนื่องมาจากว่าไก่เป็นสัตว์เลี้ยงประจำครัวเรือนของชนเผ่าโกล และมีตำนานของชาวโกลที่เชื่อว่าท้องฟ้าจะถล่มลงมาเมื่อไก่ขัน
เพิ่มเติม en:Gaul
ฟรองก์
พวกฟรองก์สามารถยึดแผ่นดินจากพวกโกลได้ และนำคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาทอลิกเข้ามา พวกฟรองก์เจริญสูงสุดในปี ค.ศ. 771 เมื่อพระเจ้าชาร์เลอมาญ ครองราชสมบัติ และขยายอาณาเขตครองยุโรปแผ่นดินหลัก ไปจนจรดอาณาจักรมุสลิมของพวกสเปน พระเจ้าชาร์เลอมาญได้เป็นผู้ปกครองจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) ในที่สุด
เพิ่มเติม en:Franks
สมัยกลาง
หลังการตายของพระเจ้าชาร์เลอมาญ ฝรั่งเศสต้องประสบปัญหาการบุกรุกของเผ่าไวกิง ทีอพยพลงใต้มายังฝรั่งเศส พระเจ้าชาร์เลอมาญทรงยกนอร์มังดีเมืองนอร์มังดี ในปัจจุบันให้เป็นของพวกไวกิ้งจึงอยู่กันได้อย่างสงบ ชาวนอร์มังดีบางครั้งก็ว่าตนเป็นฝรั่งเศสบางครั้งก็เป็นอังกฤษ อังกฤษเปลี่ยนแผ่นดินก็ยกกำลังผลฝรั่งเศสไปชิงบังลังค์ ได้บังลังค์อังกฤษแล้วก็ยกมาตีฝรั่งเศสใหม่
เพิ่มเติม en:France in the Middle Ages
ราชวงศ์วาลัว (ค.ศ. 1328 - ค.ศ. 1589)
ราชวงศ์วาลัว (Valois Dynasty) มีกษัตริย์ปกครอง 14 พระองค์ เริ่มจากพระเจ้าฟิลิปที่ 6 ไปจนถึงพระเจ้าอองรีที่ 3
ในช่วงที่แพ้สงครามกับอังกฤษ ก็เกิดตำนานของโจนออฟอาร์ค (ชาน ดาร์ก) (Joan of Arc) หญิงสาวที่อ้างว่าได้ยินเสียงของพระเจ้าให้มาปลดปล่อยฝรั่งเศส
ราชวงศ์วาลัวได้รับผลกระทบอย่างหนักในช่วงที่เกิดการแตกนิกายโปรเตสแตนต์ ออกจากนิกายโรมันคาทอลิก และส่งผลให้เกิดสงครามศาสนาในที่สุด
เพิ่มเติม en:Valois Dynasty
สงครามศาสนา
เริ่มตั้งแต่ยุคของพระนางแคเทอรีน เดอ เมดิซี ที่ต้องถ่วงดุลอำนาจระหว่างพวกบูร์บง ซึ่งนับถือนิกายโปรเตสแตนต์ กับพวกกีส ซึ่งเป็นฝ่ายโรมันคาทอลิก
สงครามศาสนาจบลงด้วยการลอบปลงพระชนม์พระเจ้าอองรีแห่งกีส และพระเจ้าอองรีที่ 3 ในปี ค.ศ. 1589 พระเจ้าอองรีที่ 4ซึ่งเป็นโปรเตสแตนต์ ได้ขึ้นครองราชย์ และเริ่มต้นราชวงศ์บูร์บง
เพิ่มเติม en:French Wars of Religion
ราชวงศ์บูร์บง (ค.ศ. 1859 - ค.ศ. 1793)
เพิ่มเติม ราชวงศ์บูร์บง
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (ค.ศ. 1643 - ค.ศ. 1715)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เป็นกษัตริย์ที่ปรีชาสามารถ และรวมเอาภาพของประเทศเข้ากับตัวกษัตริย์ เป็นที่มาของคำพูดว่า
"L'État, c'est moi!" (I am the state!) ซึ่งหมายถึง "รัฐ คือตัวข้า"
เป็นผู้เริ่มก่อสร้างพระราชวังแวร์ซาย (Versailles) และตรงกับสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราชของไทย
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 (ค.ศ. 1754 - ค.ศ. 1793)
พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางมารี อองตัวเนต การใช้ชีวิตในราชสำนักอย่างฟุ่มเฟือยทำให้เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ทั้งสองพระองค์โดนประหารด้วยกีโยตินในปี ค.ศ. 1793ซึ่งการถูกประหารของทั้ง 2 พระองค์ ทำให้เกิดแนวคิดการปฏิวัติเป็นแรงผลักดันที่ทำให้ประชาชนในประเทศยุโรปเริ่มทำการต่อต้าน กษัตริย์ของตนเอง เพื่อให้พวกเขาได้ปลดแอกเป็นอิสระ และในขณะที่ประหารนั้น ประชาชนได้มามุงดูเพื่อจะดูว่า สีเลือดของกษัตริย์นั้นเป็น สีน้ำเงินหรือสีแดง ปรากฏเลือดเป็นสีแดง ทำให้พวกเขาได้ทราบว่าสีเลือดของกษัตรฺย์นั้นไม่ได้แตกต่างกับพวกตน ทำให้เกิดความเชื่อที่ว่ากษัตริย์ก็เหมือนพวกเขานั่นเอง
การปฏิวัติฝรั่งเศส (ค.ศ. 1793 - ค.ศ. 1804)
บทความหลัก การปฏิวัติฝรั่งเศส
หลังจากนั้นเป็นการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยเรียกว่ายุคสาธารณรัฐที่ 1 ซึ่งมีเปลี่ยนรูปแบบการปกครองสามครั้ง ดังนี้
สมัชชาแห่งชาติ (ค.ศ. 1792 - ค.ศ. 1795)
หลังการปฏิวัติฝรั่งเศส ได้มีการร่างรัฐธรรมนูญ และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งเลือกตั้งโดยชายชาวฝรั่งเศสที่มีอายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไป ซึ่งนับเป็นการใช้สิทธิ์ออกเสียงครั้งแรกของโลก ที่ไม่ได้แบ่งแยกชนชั้นที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง มีสมาชิกในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 183 คน
การปกครองนำโดยคณะกรรมการซึ่งมีหลายชุด ที่มีชื่อเสียงคือ 'คณะกรรมาธิการความปลอดภัยแห่งสาธารณะ' และ 'คณะกรรมาธิการความมั่นคงทั่วไป'
เพิ่มเติม en:National_Convention
การปกครองโดยคณะมนตรี (ค.ศ. 1795 - ค.ศ. 1799)
ช่วงที่การปกครองแบบใหม่ยังไม่เข้ารูปเข้ารอย มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาใหม่หลายครั้ง และสุดท้ายอำนาจการปกครองตกไปอยู่ในมือของคณะมนตรี ซึ่งประกอบด้วยผู้มีอำนาจ 5 คนคานอำนาจกันอยู่
นโปเลียน โบนาปาร์ต เกิดในปีค.ศ. 1769 ที่เกาะคอร์ซิกา ซึ่งอยู่ทางใต้ของประเทศฝรั่งเศสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เป็นทหารในกองทัพฝรั่งเศสที่มีความสามารถ หลังจากทำศึกได้ชัยชนะต่ออิตาลี และออสเตรียในปีค.ศ. 1797 ทางรัฐบาลเกรงว่านโปเลียนจะเป็นอันตรายต่อ จึงถูกส่งไปยังอียิปต์ เพื่อตรวจสอบความเคลื่อนไหวของอังกฤษในอินเดีย นโปเลียนแพ้สงครามแห่งแม่น้ำไนล์ ให้กับอังกฤษ และถูกเรียกตัวกลับในปีค.ศ. 1799
เพิ่มเติม en:French Directory
การปกครองโดยคณะกงสุล (ค.ศ. 1799 - ค.ศ. 1804)
ค.ศ. 1799 นายพลนโปเลียน โบนาปาร์ต ยึดอำนาจจากคณะมนตรี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุลคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุด นโปเลียนดำรงตำแหน่งกงสุลในปี ค.ศ. 1799 - ค.ศ. 1803 ก่อนที่นโปเลียนจะสถาปนาตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิในเวลาต่อมา
หลังจากนั้นฝรั่งเศสต้องเปลี่ยนแปลงการปกครองอีกหลายครั้ง สลับกันระหว่างแบบกษัตริย์ กับแบบสาธารณรัฐ จนกระทั่งปัจจุบัน
เพิ่มเติม en:French Consulate
จักรวรรดิที่ 1 (ค.ศ. 1804 - ค.ศ. 1815)
ในช่วงจักรวรรดิที่ 1 มีเหตุการณ์สำคัญดังต่อไปนี้
ค.ศ. 1804 นโปเลียนสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิ และนับเริ่มยุคของจักรวรรดิฝรั่งเศสตั้งแต่นั้น
ค.ศ. 1805 ความพยายามของฝรั่งเศสร่วมกับสเปนในสงครามทางทะเลเพื่อล้มอังกฤษล้มเหลว ลอร์ดเนลสันได้ชัยชนะที่แหลมทราฟัลการ์ในสเปน (สงครามที่ทราฟัลการ์) และส่งผลให้อังกฤษได้เป็นเจ้าทะเลในช่วงศตวรรษที่ 18 นโปเลียนจึงเบนความสนใจมายังภาคพื้นทวีปแทน
ค.ศ. 1805 นโปเลียนได้ชัยชนะต่อออสเตรียซึ่งมีรัสเซียหนุนหลัง ในสงครามที่ ออสเตอร์ลิตซ์
ค.ศ. 1812 นโปเลียนแพ้ในการบุกรุกเข้าไปในพรมแดนรัสเซียเนื่องจากเผชิญกับอากาศที่หนาวเหน็บ ทหารฝรั่งเศสเหลือเพียง 1 หมื่นคน จาก 6 แสนคนในตอนแรก
ค.ศ. 1813 ชาติต่างๆ ในยุโรปรวมตัวกันต่อสู้กับฝรั่งเศส ในสงครามนานาชาติ ที่เมืองไลปซิก ฝ่ายพันธมิตรชนะ และทำให้ดินแดนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไรน์เป็นของประเทศเยอรมนี
ค.ศ. 1814 ประเทศอังกฤษ ปรัสเซีย รัสเซีย และออสเตรีย รวมกำลังกันยึดปารีสได้ในเดือนมีนาคม นโปเลียนถูกบังคับให้สละบัลลังก์ และถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบา (Elba) ในทะเลเมดิเตอเรเนียน นับเป็นการสิ้นสุดยุคจักรวรรดิที่ 1
เพิ่มเติม en:First French Empire
ยุคราชวงศ์ฟื้นฟู
หลังจากเอาชนะนโปเลียนได้ ฝ่ายพันธมิตรได้ฟื้นฟูราชวงศ์บูร์บง ขึ้นมาใหม่ โดยมีกษัตริย์สององค์คือ
พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 ค.ศ. 1814 - ค.ศ. 1824
พระเจ้าชาร์ลที่ 10 ค.ศ. 1824 - ค.ศ. 1830
และหลุยส์-ฟิลิปที่ 1 ได้ตั้งราชวงศ์ออร์เลออง ซึ่งมีกษัตริย์เพียงพระองค์เดียว จนถึงการปฏิวัติ ค.ศ. 1948 ในฝรั่งเศส
หลุยส์-ฟิลิปที่ 1 ค.ศ. 1830 - ค.ศ. 1848
ในสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 (Louis XVIII) ปี ค.ศ. 1815 นโปเลียนได้หลบหนีออกมาจากเกาะเอลบา และเผชิญหน้ากับกองทัพที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 18ส่งมา นโปเลียนเดินเข้าหาเหล่าทหารและพูดว่า "ทหารคนไหนต้องการยิงจักรพรรดิของท่าน เชิญยิงได้เลย" ("If any man would like to shoot his emperor, he may do so") ทหารทุกคนหันมาอยู่ข้างนโปเลียนและนโปเลียนได้ยึดฝรั่งเศสเป็นเวลา 100 วัน
ดยุคแห่งเวลลิงตัน (Duke of Wellington) (อังกฤษ) และนายพลบลือเชอร์ (Gebhard Leberecht von Blücher) (เยอรมัน) ได้เอาชนะนโปเลียนในการรบที่วอเตอร์ลู (Battle of Waterloo) ในเบลเยียม คืนอำนาจให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 18 และเนรเทศนโปเลียนไปยังเกาะแซงเตแลน (เซนต์เฮเลนา) นอกชายฝั่งแอฟริกาตะวันตก นโปเลียนเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1821
สาธารณรัฐที่ 2 (ค.ศ. 1848 - ค.ศ. 1852)
หลุยส์ นโปเลียน (Louis Napoleon) หลานลุงของนโปเลียน ซึ่งหลบหนีไปยังอังกฤษในปี ค.ศ. 1846 ได้กลับมารับเลือกตั้ง และได้เป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1848
ในปี ค.ศ. 1852 เขาสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 และเริ่มยุคจักรวรรดิที่สอง
เพิ่มเติม en:French Second Republic
จักรวรรดิที่ 2 (ค.ศ. 1852 - ค.ศ. 1870)
จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แพ้สงคราม en:Franco-Prussian War ให้แก่นายกรัฐมนตรีบิสมาร์ค (Otto von Bismarck) ของเยอรมัน และถูกล้มล้างจากคณะปฏิวัติ หลุยส์ นโปเลียน ตายในปี ค.ศ. 1873 ที่ประเทศอังกฤษ
เพิ่มเติม en:French Second Empire
สาธารณรัฐที่ 3 (ค.ศ. 1870 - ค.ศ. 1940)
เป็นระบอบสาธารณรัฐที่อยู่ได้นานถึง 70 ปีจนกระทั่งการบุกของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2
เพิ่มเติม en:French Third Republic
ฝรั่งเศสยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1940 - ค.ศ. 1946)
หลังจากถูกนาซีเยอรมันยึดกรุงปารีสได้ นาซีได้ตั้งรัฐบาลหุ่นฝรั่งเศสขึ้นที่เมืิองวิชี รัฐบาลในช่วงนี้จึงเรียกว่า วิชีฝรั่งเศส อีกด้านหนึ่งนายพลชาลส์ เดอ โกล ได้ตั้งแนวร่วมปลดปล่อยฝรั่งเศส (France Libre หรือ en:Free French Forces) ที่กรุงลอนดอนเพื่อต่อต้านนาซีและรัฐบาลวิชีฝรั่งเศส ในขณะนั้น
สาธารณรัฐที่ 4 (ค.ศ. 1946 - ค.ศ. 1958)
รัฐบาลใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สองมีบทบาทในสงครามอินโดจีนครั้งแรก และพ่ายแพ้ต่อเวียตนามเหนือที่นำโดยโฮจิมินห์ โดยเฉพาะการศึกที่เดียนเบียนฟู รัฐบาลในช่วงนี้ไม่มีเสถียรภาพ และเหตุการณ์สุกงอมเมื่อปี 1958 ฝรั่งเศสแพ้สงครามที่แอลจีเรีย ปลดปล่อยอิสรภาพ (en:Algerian War) นายพลชาลส์ เดอ โกลจึงยึดอำนาจและร่างรัฐธรรมนูญใหม่เป็นสาธารณรัฐที่ 5
เพิ่มเติม en:French Fourth Republic
สาธารณรัฐที่ 5 (ค.ศ. 1958 - ปัจจุบัน)
นายพลชาร์ล เดอ โกลใช้ระบบประธานาธิบดีที่เลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง แทนระบบรัฐสภาแบบเดิม ซึ่งคงอยู่มาถึงปัจจุบัน สาธารณรัฐที่ 5 ของฝรั่งเศสมีประธานาธิบดีมาทั้งหมด 5 คนดังนี้
นายพลชาลส์ เดอ โกล ค.ศ. 1958 - ค.ศ. 1969
ชอร์ช ปงปีดู ค.ศ. 1969 - ค.ศ. 1974
วาเลรี ชีสการ์ แดสแตง ค.ศ. 1974 - ค.ศ. 1981
ฟรองซัว มีแตรอง ค.ศ. 1981 - ค.ศ. 1995
ชาก ชีรัก ค.ศ. 1995 - ค.ศ. 2007
นีโกลา ซาร์โกซี ค.ศ. 2007
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น